8th learning record


Date: 4 October 2019

    วันนี้อาจารย์ธุระค่ะ แต่ก็ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนโครงการที่ต้องนำไปทำกิจกรรมทดลองกับน้องๆในการเรียนการสอนครั้งถัดไปค่ะ



    และนี่คือโครงการที่กลุ่มของหนูได้ช่วยกันเขียนขึ้นมาค่ะ

โครงการ ... เงาพิศวง

หลักการ
          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญา ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง 4 ด้าน นอกจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จึงได้จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
1.       เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง เงาพิศวง เกี่ยวกับการทอดเงา
2.       เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาได้เต็มตามศักยาภาพ
3.       เป้าหมายเชิงปริมาณ เด็กปฐมวัยทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรม

วิธีดำเนินการ
กิจกรรม/ขั้นตอนการปฎิบัติ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
ขั้นวางแผน
-          ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ
ขั้นดำเนินการ
-          เสนอโครงการ
-          ดำเนินการเข้ากิจกรรมวิทยาศาสตร์

ตุลาคม พ.ศ. 2562

คณะผู้จัดทำ
ขั้นประเมินผล
-          ประเมินผลโครงการ
ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้จัดทำ

ระยะเวลา/สถานที่ดำเนินการ
          วันที่ 4 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 จัดกิจกรรมในวันพุธ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 11.00 น. ณ มูลนิธิเด็กอ่อนเสือใหญ่ในสลัม

งบประมาณ
          ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       เด็กปฐมวัยมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและเงา
2.       เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.       เด็กปฐมวัยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

การประเมินผล
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
1.       เด็กปฐมวัยรั้อยละ 80 มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
2.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สังเกต
แบบสังเกต
3.       เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
สังเกต
แบบสังเกตุ

ผู้เสนอโครงการ/ผู้เห็นชอบโครงการ
นางสาว
อัญชลี
ปัญญา
นางสาว
ภุมรินทร์
ภูมิอินทร์
นาย
ชัยพฤกษ์
ไชยวาสน์
นางสาว
น้ำเพชร
ปิยะคง
นางสาว
อารีรัตน์
ไชยคำ
ผู้อนุมัติโครงการ
          ดร.จินตนา   สุขสำราญ


Vocabulary

Project        โครงการ
Long       ยาว
Social        สังคม
Intelligence       สติปัญญา
Approve       อนุมัติ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

12th learning record

2nd learning record

14th learning record